วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การจัดประสบการณ์ทางภาษาธรรมชาติ

ในวันพุธที่ 26 พฤษจิกายน ที่ผ่านมาอาจารย์ได้สอนเรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาธรรมชาติ โดยอาจารย์ได้ให้ความหมายของภาษาทางธรรมชาติ ว่าการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และยังพูดถึงการสอนภาษาโดยองค์รวม ของ

โคมินิอุส
"เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ๆ ได้ ด้วยการนำเสนอด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชีวิตอยู่แล้ว
" กู๊ดแมน สมิธ เมอร์ริดิธ "ความรู้จะเกิดขึ้นอย่างพรั่งพรูจากกระบวนการเรียนรู้" ครูควรใช้ภาษาทุกทักษะด้านการฟัง การเขียน พูด อ่าน แบบองค์รวมในทุกกิจกรรมในห้องเรียน ภาษาธรรมชาติ

จูดิท นิวแมน
"การสอนภาษาโดยแนวคิดองค์รวมมีลักษณะเป็นปรัชญา

" จอห์น ดิวอี้ "
การรู้ภาษาของเด็กเกิดจากประสบการณ์ตรงโดยการลงมือกระทำด้วยตนเอง
"ทฤษฎีที่เป็นกุญแจสำคัญของการสะท้อนความคิดต่อการสอนของครู(Retlective teaching)
ผู้เรียนต้องเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ ครูควรบูรณาการด้ารภาษาให้กลมกลื่นไปกับการเรียนรู้ทุกเรื่องในหลักสูตร ซึ่งต้องสอดคล้องกับแนวคอดทฤษฎี ต่อไปนี้ เพียเจท์ "เด็กจะเรียนรู้ผ่านกิจกรรมด้วยการเคลื่อนไหวและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างองค์ความรู้ขึ้นใหม่ภายในตนเอง

"ไวกอตรกี "
การเรียนรู้ภาษาของเด็ก เกิดขึ้นได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลไก้ลเคียง

" ฮอลลิเดย์ "
บริบทที่แวดล้อมในสถานการณ์ที่หลากหลายมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และการใช้ภาษาของเด็ก

" กู๊ดแมน "
ภาษาเป็นเครื่องมื่อที่สำคัญสำหรับชีวิตเด็ก เด็กต้องเรียนรู้ภาษา เด็กต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ ดังนั้น ครูจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับภาษา" และเมื่ออาจารย์อธิบายเสร็จ อาจารย์ก็ให้ทำกิจกรรม โดยให้นักศึกษาหยิบสิ่งของที่รักที่สุดขึ้นมาคนละหนึ่งชิ้น พร้อมบอกเหตุผล

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

บันทึกการเข้าเรียนวันพุธที่19พฤศจิกายน2551

วันพุธที่ผ่านมา รู้สึกว่าเรียนสนุกมากอีกวันหนึ่ง อาจารย์มีการนำเอาเนื้อหาในแต่ละวิชามาบูรณาการเข้าด้วยกัน ทั้งวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาฯ,วิชานิทานและหุ่นฯ และวิชาการจัดประสบการณ์ทางการเคลื่อนไหวและจังหวะฯ ทำให้สามารถเข้าใจง่ายขึ้นเนื้อหาที่เรียนพอสรุปได้ดังนี้
- นิทานมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาษา คือ
1) ทักษะการพูด
2) ทักษะการฟัง
3) ทักษะการแสดงออกด้วยท่าทาง
- ภาษาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ"สมอง" สมองของเด็กทำงานโดย "การซึมซับ" และ "ปรับปรุงสร้าง
- เครื่องมือซึมซับของเด็กคือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
- พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอน และสะท้อนออกมาเป็นพฤติกรรม ที่จะบอกให้รู้ว่าเด็กทำอะไรได้-ไม่ได้ ไปตามลำดับอายุ
- พัฒนาการของสมองของเด็ก มีดังนี้
เด็กแรกเกิด - 2 ปี เป็นขั้นของการซึมซับ

เด็กอายุ 2-4 ปี ใช้ภาษาและคำในการสื่อสาร
เด็กอายุ 4-6 ปี เริ่มใช้คำที่ดีขึ้น บอกเหตุผลได้ อย่างที่ตามองเห็น
เด็กอายุ 5 ปี เป็นขั้นอนุรักษ์ เริ่มให้เหตุผล ไม่ได้ตอบตามที่ตามองเห็น
- การใช้คำถามในการถามเด็ก (กิจกรรมวาดภาพ)
1) "หนูนึกถึงอะไรตอนวาดรูปคะ"
2) "รูปนี้หนูอยากให้เป็นอะไรคะ"
"การเรียนครั้งนี้มีทั้งหมด 3 กิจกรรมด้วยกัน กิจกรรมแรก คือ อาจารย์ให้ร้องเพลงคนละ 1 เพลง

ข้าพเจ้าได้ร้องเพลง "ปูอยู่ในรู"
กิจกรรมที่ 2 คือ เป็นกิจกรรมบทบาทสมมติ อาจารย์ให้นำเสนอสินค้าของตัวเองที่คิดว่าเบื่อแล้ว นำเสนอขายให้ดึงดูดผู้บริโภคอยากซื้อมากที่สุด สินค้าที่ข้าพเจ้านำเสนอขายคือ "เสื้อกันหนาว"
กิจกรรมนี้สามารถนำมาสอนเด็กได้ โดยให้เด็กได้โฆษณา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) ใช้สื่อสารเพื่อบอกลักษณะเด่น คุณลักษณะเด่น ให้ผู้อื่นคล้อยตาม
2) ให้เด็กได้ พูด-ฟัง
3) เด้กได้สังเกตและดึงคุณสมบัติเด่น
4) เด็กได้วิเคราะห์และประโยชน์
กิจกรรมที่ 3 คือ กิจกรรมการกล่าวความดี คือ อาจารย์จะให้นั่งสมาธิและนึกถึงคุณความดีที่เราอยากกระทำ สิ่งที่ข้าพเจ้าอยากกระทำคือ "ในอนาคต อยากทำงานให้สูงๆ เพื่อที่จะได้มีเงินทองไว้เลี้ยงพ่อแม่"

ความรู้สึกที่มีบล็อก

การทำบล็อกนี้รู้สึกสับสน แต่ก็มีความรู้ในการศึกษาปฐมวัย ทำให้เรียนรู้เนื้อหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียน พร้อมยกตัวอย่างประกอบทำให้ผู้อื่นมีความสนใจ ในการศึกษาปฐมวัยมากขึ้น